วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558

จากวันนั้นถึงวันนี้บนเส้นทางอาชีพเกษตรกรรม

******อยากเล่าประสบการณ์ชีวิตให้ทุกท่านฟังครับ เผื่อหลายคนกำลังเริ่ม******
‪#‎แนะนำตัวก่อนนะครับ‬ - ผมชื่อชยุต (ไชยยา) ผมเรียนจบจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อปี 2546 (AG'36) คณะเกษตรศาสตร์ สาขาพืชไร่ เรียนจบก็ทำงานหลายที่เหมือนกันครับ การทำงานหลายที่สำหรับผมแล้วถือว่าเป็นเรื่องดี เพราะทำให้เราได้ประสบการณ์ในการทำงานที่มากกว่าคนอื่น

#‎ที่ไปที่มา‬ - ที่จริงพ่อตาแม่ยายของผมเริ่มปลูกฝรั่ง มาสิบกว่าปีแล้วครับ เริ่มจากปลูกกลมสาลี่ พอเริ่มราคาตกก็เปลี่ยนพันธุ์มาเป็นไร้เมล็ดลูกยาว ราคาดีครับ แต่ข้อเสียคือไม่ค่อยดก เนื้อแข็ง ไม่ค่อยเป็นที่นิยม ประมาณปี 2551 จึงเริ่มทดลองปลูกพันธุ์กิมจู ปรากฎว่ารสชาดดี หวานกรอบ เป็นที่นิยมของผู้บริโภค จึงได้เริ่มตอนกิ่งขยายปลูกเพิ่มขึ้น ปัจจุบันปลูกประมาณ 4 ไร่ ใช้แรงงานในครัวเรือนเป็นหลัก
‪#‎ทำไมถึงได้ผันตัวเองมาเป็นเกษตรกร‬ - ตอนนั้นผมทำงานประจำอยู่ หยุดวันเสาร์-อาทิตย์ วันศุกร์แฟนโทรมาบอกว่า "ไปรับฝรั่งกิมจูมาขายให้แม่หน่อย พ่อค้าสั่งไว้ 100 กก. แล้วเขาไม่มารับ" งานเข้าเลยครับ บอกตรงๆ เลย ชีวิตนี้ผมไม่เคยค้าขายเลย มีแต่รับจ้างหาเงินอย่างเดียว ฝรั่งตั้ง 100 กก. จะเอาไปขายไหนหมด วันเสาร์ผมก็ขับรถไปรับฝรั่งมาขาย ‪#‎แล้วจะเอาไปขายไหน‬? ก็เลยขับไปแถวตลาดวันเสาร์ในตัวจังหวัดสุรินทร์ ก็เดินไปถามพ่อค้าแม่ค้าแถวนั้นว่ามีพื้นที่ว่างให้วางขายฝรั่งมั๊ยครับ เขาบอกว่ามีคนจองหมดแล้ว ไม่มีที่ว่างหรอก ทั้งๆ ที่ก็เห็นที่ว่างเยอะแยะไปหมด ผมก็เลยขับรถมาวางขายฝั่งตรงข้ามเป็นที่ว่าการจังหวัดสุรินทร์ (คิดอะไรไม่ออกเริ่มที่ศาลากลางก่อนครับ) 

ตอนแรกนึกว่าเจ้าหน้าที่จะมาไล่ พอเขาเห็นเป็นเกษตรกรเลยมาช่วยอุดหนุน 100 กก. ขายหมดภายใน 2 ชม. ดีใจมากเลยครับ มือก็สั่น ก็เลยโทร.บอกแม่ยายว่าต่อไปนี้ไม่ต้องส่งพ่อค้าแล้ว เดี๋ยวผมจะขายเองทุกวันเสาร์ จากนั้นก็ขายทุกวันเสาร์หน้าศาลากลาง ่พอพ่อค้าแม่ค้าในตลาดเขาเห็นเราขายดี ก็เริ่มเป็นกระแส แกนนำตลาดประมาณ 3-4 คน เข้ามาคุยบอกว่าให้เลิกขายเดี๋ยวจะมีคนมาขายตามๆ กัน เพราะที่ในตลาดเขาเสียเงินค่าเช่า มาคิดดูก็เข้าใจเขานะเหมือนเรามาขายแข่งเขา ‪#‎โชคดี‬ ได้รู้จักลุงเล็ก สามัญ บุญย้อย (เกษตร มข.รุ่น 4) แบ่งพื้นที่ขายในตลาดให้ เลยได้เข้าไปขายในตลาดเขียว อบจ.สุรินทร์ 

หลังจากนั้นก็ขายมาตลอด พอฝรั่งกิมจูเป็นที่นิยมและเป็นที่รู้จักแล้ว เลยทดลองตอนกิ่งมาขาย โดยเริ่มแรกขายกิ่งใหญ่กิ่งละ 50 บาท ซึ่งขายดีมาก เลยตัดสินใจลาออกจากงานประจำเมื่อต้นปี 2558 มายึดอาชีพ‪#‎เกษตรกร‬ พอดีกับทางสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสุรินทร์ รับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมจำหน่ายสินค้าในโครงการ ‪#‎ตลาดเกษตรกร‬ จึงได้เข้าร่วม ซึ่งทำให้ ‪#‎สวนพันธุ์ศิริ‬ มีคนรู้จักมากขึ้น โดยจำหน่ายทุกวันอาทิตย์ที่บริเวณหน้า ‪#‎มหาวิทยาลัยราชมงคลอีสานวิทยาเขตสุรินทร์‬(‪#‎ตลาดกรีนมอร์‬) ที่ผ่านมาก็ได้รับโอกาศในการขายของในงาน ‪#‎วันเกษตรแห่งชาติปี‬ 2558 และล่าสุดก็ ‪#‎มหัสจรรย์งานช้างจังหวัดสุรินทร์‬ ปี 2558 ซึ่งทางสวนพันธุ์ศิริก็ขอขอบพระคุณเป็นพิเศษ ไปยังท่านนพรัตน์ พงษ์กิตติโชติ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดสุรินทร์ ท่านธกฤต แสงหิรัญ องค์การตลาดเพื่อเกษตรกรจังหวัดสุรินทร์ และคุณวราภรณ์ โพธิ์งาม พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ทุกท่าน ที่ให้ความช่วยเหลือมาโดยตลอดครับ....สุดท้ายไม่ลืมที่จะขอบคุณคณะครูบาอาจารย์คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ประสิทธิประสาทวิชาให้ลูกศิษย์ชั้นปลายแถวผู้นี้ ได้ใช้วิชาความรู้ที่ร่ำเรียนมา เพื่อประกอบสัมมาอาชีพเลี้ยงครอบครัวได้...